Logo nipponnotsubo
ad head
header
หน้าแรก ความบันเทิง วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สังคม เทคโนโลยี แฟชั่น ธุรกิจ

ประวัติ"ฮิรางานะ"และ"คาตาคานะ"

日本語版


ฮิรางานะ

แม้แต่คนที่อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก ก็มีความสนใจในความเป็นเอกลักษณ์ของรูปร่างภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เป็นที่นิยมมากคือ "ฮิรางานะ"และ"คาตาคานะ"นั่นเอง "คันจิ"ที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนนั้น แม้แต่ประเทศไทยและประเทศที่มีการใช้ภาษาจีน ในเมืองที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เยอะก็สามารถเห็นได้ตามป้ายต่างๆ แต่"ฮิรางานะ"และ"คาตาคานะ"มีแค่เฉพาะภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งหากคนต่างชาติได้เห็น ก็จะรู้สึกว่ามันน่ารัก และดูน่าสนใจ

ในการเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น ก่อนอื่นก็จะต้องจำ"ฮิรางานะ" ซึ่งมีทั้งหมด50ตัว นอกจากนี้ก็มีการเติม「゜」( ฮันดาคุเตง)เครื่องหมายแสดงเสียงกึ่งขุ่น และ「゛」( ดะคุเตง)เครื่องหมายใช้เติมบนฮิรางานะหรือคาตะคานะ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นเสียงขุ่น และถัดไปก็ต้องจำ"คาตาคานะ" 50ตัว เพราะ"ฮิรางานะ"และ"คาตาคานะ"เป็นตัวอักษรที่รองซึ่งกันและกันแบบหนึ่งต่อหนึ่งทั้งหมด จึงต่างกันแค่รูปร่าง แต่การออกเสียงเหมือนกัน

ยกตัวอย่างเช่น คำว่า「แอปเปิล」ก็คือแอปเปิลในภาษาไทย หรือเขียนเป็นอัลฟาเบ็ตได้ว่า「apple」 แต่ที่ญี่ปุ่นสามารถเขียนได้ถึง4แบบคือ 「りんご」「リンゴ」「林檎」「apple」


ทั้ง"ฮิรางานะ"และ"คาตาคานะ"ก็มีคันจิเป็นแหล่งกำเนิด

ฮิรางานะ คาตาคานะ

ภาษาญี่ปุ่นสมัยก่อนนั้นยังไม่มีตัวอักษร ด้วยเหตุนี้ เมื่อคันจิที่ถูกใช้เป็นภาษาจีน ถ่ายทอดเข้ามาในญี่ปุ่น จึงถูกนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับภาษาญี่ปุ่น แต่คันจิมีความซับซ้อนจึงเขียนยาก ดังนั้น จึงได้มีการย่อตัวคันจิ ผลลัพธ์นั้นคือ สิ่งที่ถือกำเนิดขึ้นมาคือตัวอักษรที่ทำให้ง่ายขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่า"มันโยงานะ" เพราะถูกใช้บ่อยใน"มันโยชู" ซึ่งเป็นหนังสือรวมบทกลอนญี่ปุ่นที่จัดทำเสร็จในปี795 จึงถูกเรียกเป็นชื่อนี้ ดังนั้นมันโยงานะจึงเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว มันโยงานะนี้จึงพัฒนาด้วยเป้าหมาย2สิ่ง ในสมัยเฮอัน(ปี795-1185)

ศาสนาพุทธของญี่ปุ่นถ่ายทอดมาจากประเทศจีน เพราะเหตุนี้ คัมภีร์ศาสนาพุทธจึงเขียนด้วยคันจิ บรรดาพระสงฆ์ของญี่ปุ่นจะใช้มันโยงานะ ในการอ่านพระสูตรศาสนาพุทธซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยคันจิที่เข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งก็ได้ถูกขัดเกลาจนกลายเป็น"คาตาคานะ"ในปัจจุบันนี้ "คาตาคานะ"เป็นตัวอักษรมีคุณค่าอย่างมาก เพื่อใช้ในการอ่านคัมภีร์

ฮิรางานะในอีกด้านหนึ่ง "ฮิรางานะ"จะถูกใช้ในหนังสือส่วนตัวของพวกขุนนาง หรือหนังสือที่ผู้หญิงเขียน เหล่าขุนนางจะใช้คันจิสำหรับหนังสือที่เป็นทางการ และใช้"ฮิรางานะ"สำหรับกลอนวะคะและบันทึก "โทสะนิกขิ"ซึ่งเขียนโดยผู้หญิง และเกนจิโมโนกาตาริของมุราซากิชิคิบุก็เขียนด้วย"ฮิรางานะ" ด้วยเหุตนี้ ดูเหมือนว่า"ฮิรางานะ" ในสมัยนั้นจึงถูกเรียกว่า"อนนะเดะ"(ตัวอักษรที่ผู้หญิงเขียน)

ลักษณะเด่นของ"ฮิรางานะ" การหวัดรูปร่าง เพื่อในการเขียนตัวอักษรให้รวดเร็ว เหมือนกับการเขียนประโยคในภาษาอังกฤษ "ฮิรางานะ"ได้รับการประเมินว่าเป็นตัวอักษรที่เหมาะในการแสดงออกถึงภาษาญี่ปุ่น และยังถูกใช้ในประโยคที่เป็นทางการอีกด้วย นอกจากนี้ จากการที่ถูกใช้ในกลอนวะคะและนวนิยาย จึงให้บรรยากาศของความเป็นศิลปะควบคู่กันไปด้วย คนญี่ปุ่นจะมีความรู้สึกว่าการนำรูปร่างที่เขียนหวัดกับคันจิมารวมกันนั้นมีความงดงามมาก ด้วยเหตุนี้ การจะสามารถเขียนงานเขียนฮิรางานะและคันจิอย่างสวยสดงดงามได้นั้นจำเป็นที่จะต้องเป็นขุนนางและซามูไร นอกจากนี้ นักเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันก็จะสร้างสรรค์ผลงานในฐานะผลงานศิลปะตามด้วยความพึงพอใจ "ฮิรางานะ"สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วถือเป็นสิ่งสำคัญในฐานะตัวอักษรที่สมควรรัก หากสามารถเขียนและอ่านฮิรางานะได้ ก็อยากให้ลองอ่านงานเขียนทางด้านศิลปะให้ได้ เพราะเป็นรูปแบบการเขียนจึงอ่านยาก แต่ก็ต้องมีตัวอักษรที่เข้าใจอยู่บ้างแน่ๆ ซึ่งดูเหมือนราวกับว่าได้โบยบินอยู่ในนั้น "ฮิรางานะ"เป็นตัวอักษรเชิงสัญลักษณ์ของความคิดเห็นอย่างอิสระ by Noboru

ฮิรางานะ วิกิพีเดีย

คาตาคานะ วิกิพีเดีย

วิธีจำคันจิ(kanji) พื้นฐานคันจิที่ใช้เป็นประจำในภาษาญี่ปุ่นคือ คันจิ1945ตัวที่ใช้เป็นประจำ

วิธีจำคันจิ2--คันจิคือแผนภาพ ก่อนอื่นมาจำความหมายกันเถอะ

วัฒนธรรมญี่ปุ่น

หม้อความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น nipponnotsubo にっぽんの壷

右上大型広告
Custom Search
Copyright © 2011 Nipponnotsubo.Inc.
All Right Reserved.
nipponnotsubo@gmail.com
nipponnotsubo@hotmail.com