Logo nipponnotsubo
ad head
header
หน้าแรก ความบันเทิง วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สังคม เทคโนโลยี แฟชั่น ธุรกิจ

วากาชิ เป็นส่วนหนึ่งของคนญี่ปุ่น หากรู้จักวากาชิก็สามารถเข้าใจวัฒนธรรมและทัศนคติของชาวญี่ปุ่นได้

日本語版


วากาชิ


มูลนิธิญี่ปุ่นที่เป็นหน่วยงานทางภาครัฐของญี่ปุ่นนั้น ได้จัดงานแสดงเกี่ยวกับขนมญี่ปุ่นดั้งเดิมเพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวเอเชียมากขึ้นในหัวข้อ “สัมผัสศิลปะแห่งความหวานจากประสาทสัมผัสทั้งห้า(บรรยายเรื่อวากาชิพร้อมสาธิตการทำ)” โดยมีวิทยากรที่เป็นเชฟหนุ่มขนมหวาน 3 คนบินตรงจากญี่ปุ่นมาให้ความรู้กันถึงที่ งานนี้จัดขึ้นศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ในวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าชมและทดลองชิมขนมกันมากมาย


วากาชิคือความภาคภูมิใจของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

 โนริยูกิ เมียวจินคุณ โนริยูกิ เมียวจิน จากร้านมิตสึยะฮมโป ในเมืองคุเระ จ.ฮิโรชิม่า เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านศิลปะจากสมาคมวากาชิแห่งประเทศญี่ปุ่นในปี2011กล่าวว่า “วากาชิเป็นส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่น หากรู้จักวากาชิก็จะสามารถเข้าใจวัฒนธรรมและทัศนคติของชาวญี่ปุ่นได้” และได้กล่าวถึงเรื่องการเปิดตัวในเอเชียในครั้งนี้ว่า “คิดว่าวากาชิจะวางขายแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ครั้งนี้ดูจากการตอบรับจากคนไทยแล้ว คิดว่าได้รับเสียงชื่นชมมากมายทีเดียว จากนี้ไปก็คิดว่าเราจะต้องไม่คิดถึงแค่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ต้องคิดไปถึงการแพร่หลายในต่างประเทศด้วย”

ร้านมิตสึยะฮมโป

 คสุเกะ โยชิฮาชิคุณเคสุเกะ โยชิฮาชิจากร้านโยชิฮาชิคาจิโจ ที่ทำวากาชิเพื่อใช้ในพิธีชงชา ที่อยู่ในเมืองคานาซาว่า จ.อิชิคาว่า พูดถึงการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ “รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมากครับ ทำให้รู้ว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนานในประเทศบ้านเกิดของตัวเองนั้นกำลังจะก้าวไปสู่ระดับโลก ทำให้ทุกคนประหลาดใจและกระตุ้นให้อยากรู้ ดึงดูความสนใจจากทุกคน งานในครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การพูดบรรยายเท่านั้นแต่ยังมีเวิร์คชอปให้ได้ลองทำกันด้วย ในฐานะเชฟก็รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากครับ”


โคอิซุมิ นาโอยะคุณ โคอิซุมิ นาโอยะ จากร้านโคอุนโด เมืองอาชิคางะ จ.โทจิหงิ ที่เปิดกิจการมามากกว่าร้อยปี พูดถึงงานครั้งนี้ว่า “วากาชิเป็นสิ่งที่มีความหนักแน่นในตัวเอง และในครั้งนี้ เนื่องจากมาในฐานะตัวแทนของญี่ปุ่น จึงมีหน้าที่ที่จะต้องถ่ายทอดความสำคัญและความอร่อยของวากาชิให้ทุกคนได้รู้จักกันครับ”





เป็นงานประณีตที่หาวิธีที่ทำให้ประณีตกว่าได้ยาก


วากาชิ

ขนมญี่ปุ่น วากาชินั้นมีมาพร้อมๆกับพิธีชงชา ตั้งแต่ 1400 ปีก่อน ในสมัย นารา ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปกี่ยุคกี่สมัยก็ตามขนมวากาชิ ก็เป็นเพียงสิ่งเดียวที่มีมาพร้อมๆกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของญี่ปุ่น

 คสุเกะ โยชิฮาชิจากคำสัมภาษณ์ของคุณ โยชิฮาชิ เคย์ซึเกะ กล่าวว่า “ขนมวากาชิ ยิ่งได้ทำขนมวากาชิบ่อยๆ ก็เริ่มชอบขนมชนิดนี้มากขึ้น โดยปกติแล้วพวกผมจะเป็นคนทำขนมด้วยตัวเอง แต่ว่าการที่จะทำขนมขึ้นมาใหม่ให้ประณีตกว่าเดิมนั้นเป็นไปได้ยาก รสชาติของขนมวากาชิจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่ รูปร่างของขนมแบบดั้งเดิมนั้นจะไม่เปลี่ยน และนี้ก็เป็นจุดเด่นของขนมชนิดนี้ ขนมวากาชินั้นไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนก็ตาม ก็จะยังคงอยู่ในพิธีชงชาตลอด ควรมีความอ่อนน้อมถ่อมตนและคิดว่าไม่ควรทำสิ่งที่ไม่จำเป็น”

คุณ เคย์ซึเกะได้กล่าวถึงประเพณีการทานขนมวากาชิที่มีมายาวนานว่า อยากจะให้เป็นประสบการณ์สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ยังไม่เคยทานขนมชนิดนี้ “ในพิธีชงชากับการทานขนมวากาชิ จะสัมผัสได้ถึงธรรมชาติที่งดงาม สิ่งที่เข้าถึงได้และอยากจะให้ทุกคนหันมาสนใจกับประเพณีนี้ แม้ว่าหลายๆคนจะคิดว่าขนมลักคุกังและขนมวากาชิเป็นขนมโบราณก็ตาม แต่เราก็ควรลองมองขนมชนิดนี้ดูใหม่ เพราะอะไรขนมชนิดนี้ถึงได้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั้นเป็นสิ่งที่เราควรจะหันกลับมาให้ความสนใจกัน”

วากาชิเป็นสิ่งที่ไม่ใช่จะเจอได้ทุกวัน

 โนริยูกิ เมียวจินทางด้านคุณโนริยูกิ จากร้านมิตซึยะ ได้พูดถึงวากาชิว่า ”วากาชินั้นไม่มีขอบเขตจำกัด ใช้ถั่วแดงและโมจิในการทำซึ่งในประเทศอื่นๆก็มีของที่คล้ายๆกันอยู่ วากาชิจะออกมาเป็นแบบไหนนั้นมันขึ้นอยู่กับคนทำขนม ถ้าคนทำคิดว่าจะทำวากาชิแล้ว มันก็จะออกมาเป็นวากาชิครับ”

“คนสมัยใหม่จะมีประสาทสัมผัสและการรับรสชาติที่ต่างออกไป แต่วากาชินั้นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องรสชาติ ราคาและขนาดก็ตาม” แต่ว่าสิ่งที่คนทำขนมควรถือเป็นหลักสำคัญนั้นคือ “คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับประเพณีดั้งเดิม ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการผลิตที่ไม่ได้มีออกมาทุกวันคือสิ่งที่สำคัญ เช่น ขนมซากุระโมจิ ที่มีรสชาติอร่อยก็จะผลิตออกมาแค่ในช่วงที่มีใบซากุระเท่านั้น ไม่ได้จะผลิตกันได้ตลอดทั้งปี” by Noboru

เรื่องราวของ"วากาชิ"ขนมญี่ปุ่น

Wagashi(วากาชิ) Work Shop

หม้อความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น nipponnotsubo にっぽんの壷

右上大型広告
Custom Search
Copyright © 2011 Nipponnotsubo.Inc.
All Right Reserved.
nipponnotsubo@gmail.com
nipponnotsubo@hotmail.com