Logo nipponnotsubo
ad head
header
หน้าแรก ความบันเทิง วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สังคม เทคโนโลยี แฟชั่น ธุรกิจ

ผีญี่ปุ่น─วิญญาณกับภูตผี

ที่ไทยจะมีการจัดประเภทของผี(お化け)เอาไว้แค่1อย่าง ซึ่งก็คือผี(お化け) ในนั้นก็มีผีกระสือ, ผีกระหัง, ผีปอบเป็นต้น แต่ที่ญี่ปุ่น แบ่งผีออกเป็น2ประเภทมาตั้งแต่สมัยก่อน นั่นคือ"วิญญาณ"(幽霊)กับ"ภูตผี"(妖怪)

คำว่า"ผี" ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่มีตัวตนอยู่อย่างธรรมชาติทั่วไป แต่เป็นชื่อเรียกรวมของตัวตนที่อยู่เหนือธรรมชาติ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างอธิบายได้ยาก แต่ก็เทียบได้กับ"ผี"ของไทยนั่นเอง ดังนั้นเวลาที่คนพูดว่า"お化け"(ผี) ก็ให้แปลว่า"ผี"ก็ใช้ได้แล้ว

แต่"ผี"นั้นมี2ประเภท อย่างแรกคือ"วิญญาณ"(幽霊) ตัวอักษร"幽"นั้น เป็นตัวอักษรที่ชี้ถึงเปลวไฟที่กำลังสั่นไหวน้อยๆอยู่ในภาชนะ มีความหมายว่า"เลือนลาง""มองเห็นได้ยาก" ส่วนคำว่า"霊" หมายถึง"วิญญาณ"ของคนตาย กล่าวคือ "幽霊" หมายถึง"วิญญาณของคนตาย ที่มองเห็นเพียงเลือนลาง"

วิญญาณ(幽霊)

วิญญาณคำว่า "วิญญาณ" คือวิญญาณที่ยังคงวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ไม่ไปยังสววรค์ เพราะมีเรื่องน่าเสียดายมากมายที่น่าจะทำในช่วงตอนก่อนที่จะตาย ทั้งๆที่ร่างกายย่อยสลายไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น แม่ที่ตายไปโดยที่ทิ้งลูกน้อยเอาไว้ ก็จะกลายเป็นวิญญาณเพราะเป็นห่วงลูกก็มี คนที่ตายก่อนจะเข้าพิธีวิวาห์ ก็ไม่อยากแยกจากคนรัก ก็เลยมาพบกับคนรักก็มีเช่นเดียวกัน หรือว่าเหยื่อที่ถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม ก็จะมาหลอกหลอนฆาตกรเพราะความเคียดแค้นก็มี "ซารายาชิกิ"(ผีนับจาน)และ"โยทซึยะไคดัน"(เรื่องเล่าสยองขวัญที่โยทซึยะ)ที่เสร็จสมบูรณ์ในสมัยเอโดะ(ปี1603-1886) เป็นเรื่องราวตัวอย่างของหญิงที่ถูกฆาตกรรม และปรากฎตัวออกมาเพราะเคียดแค้นฆาตกร

วิญญาณโดยปกติแล้ววิญญาณมักจะออกมาในตอนกลางคืน เพราะในตอนนั้นจะมีแสงรำไร แต่ในตอนกลางวันจะมองไม่เห็นเพราะมีแสงอาทิตย์ แต่ว่า ในตอนกลางวันก็มีการถ่ายรูปที่เรียกว่า "รูปถ่ายติดวิญญาณ" สิ่งนี้ที่ไทยเองก็มีเหมือนกัน

เพราะวิญญาณไม่มีตัวตนที่แท้จริง จึงทำร้ายคนโดยตรงไม่ได้ แต่ว่าเพราะวิญญาณเป็นสิ่งที่ถูกนึกโยงไปถึง"ความตาย"อันน่าสะพรึงสำหรับมนุษย์ ตัวตนของมันจึงน่ากลัว หากมีความวิตกจริตในจิตใจของคนที่มองเห็นวิญญาณ ก็จะรู้สึกน่ากลัวมาก ยกตัวอย่างเช่น พอคนที่ตัวเองฆ่าตายกลายเป็นวิญญาณมาปรากฎตัว ก็จะกลัวมากๆ และกระตุ้นให้อยากไถ่โทษ

ในกรณีที่วิญญาณออกมาหาคนที่เจาะจง ก็จะเรียกว่า"ถูกผีเข้า" คนที่ถูกผีเข้า ก็จะป่วยใจทางใจ พอเป็นแบบนั้นไปเรื่อยๆก็จะอ่อนแอลงจนกระทั่งเสียชีวิตไป การจะหนีจากผีที่เข้าสิง จะต้องทำบุญให้คนตายกับพระสงฆ์ เพื่อจะได้ส่งวิญญาณที่วนเวียนอยู่ให้ไปสวรรค์

มีทฤษฎีที่ว่า "วิญญาณ"ของญี่ปุ่น"ไม่มีขา" วิญญาณที่ไม่มีขาปรากฎตัวขึ้นครั้งแรกในภาพที่ถูกวาดขึ้นเมื่อปี1673 หากถามว่าทำไมถึงไม่มีขานั้น ก็มีทฤษฎีอยู่มากมาย เช่น "เพราะตอนที่วาดจะได้แบ่งแยกกับมนุษย์ที่มีชีวิตได้ง่ายๆ" "เพราะพอวิญญาณออกมาในตอนกลางคืนก็จะมืดๆมัวมองไม่เห็นบริเวณเท้า" เป็นต้น แต่ว่าวิญญาณที่ไม่มีขานั้นมีอยู่น้อย ดังนั้นจึงไม่สามารถพูดได้ว่า "วิญญาณที่ญี่ปุ่นไม่มีขา"

ภูตผี(妖怪)

ภูตผีนี่ก็เป็นประเภทหนึ่งของ"お化け"(ผี) "妖怪"(ภูตผี) คือวิญญาณของอะไรบางอย่างที่สิงสู่อยู่ในมนุษย์และสัตว์ จึงเป็นสิ่งที่มีรูปร่างพิสดาร หรือ เพราะเคยมีชีวิตมาอย่างยาวนานมาก จึงกลายเป็นภูตผีก็มี ในภูตผีบ้างก็มีพลังเหนือธรรมชาติและพลังลึกลับ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า"ภูต"

ตั้งแต่สมัยโบราณในญี่ปุ่นเชื่อว่าวิญญาณของพืชพันธุ์และสัตว์ หรือพลังเหนือธรรมชาติจะสิงสถิตย์อยู๋ในมนุษย์และสัตว์ หากถูกสิงโดยพลังเหนือธรรมชาติและวิญญาณ ทั้งมนุษย์และสัตว์ก็จะมีสภาพที่แปลกพิสดาร ในฐานะวิญญาณที่เข้าสิงนั้น ก็จะมีจิ้งจอก(คิซึเนะ)เป็นแบบอย่าง จึงเรียกการที่มีสิ่งมาเข้าสิงว่า"คิซึเนะซึกิ" นอกจากนี้ หากเป็นสิ่งมีชีวิตแล้วไม่ว่าอะไรก็มีวิญญาณด้วยกันทั้งนั้น ตั้งแต่หมา, แมว, สุนัข, ไก่ จนถึงแมลง บ้างก็มีการเข้าสิ่งในสัตว์อื่นๆและคนด้วยยสาเหตุบางประการ อีกอย่าง วิญญาณที่อยู่ในสิ่งของเก่าๆ ก็มีบ้างที่จะมีวิญญาณไปสิง อย่างเช่น ต้นไม้ที่มีอายุเยอะและบ้านเก่า, ชาม เป็นต้น ไม่ว่าอะไรก็มิสิทธิ์เป็นไปได้ทั้งนั้น

ท่องราตรีร้อยปีศาจ

ญี่ปุ่นสมัยโบราณ ภูตผีจะถูกมนุษย์คิดว่าเป็นสาเหตุของเหตุการณ์แปลกประหลาดไม่สามารถเข้าใจได้ นั่นเป็นเพราะว่าพวกมนุษย์ในสมัยก่อนขาดแคลนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และมีความยำเกรงต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

ใน"คอนจากุโมโนกาตาริชู"ที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในสมัยเฮอัน(ปี794-1185) มีการบันทึกไว้ว่า พอตกกลางดึกจะกลุ่มภูตผีร้อยตนมาเดินวนเวียนที่เมืองในเวลานั้น จึงเรียกว่า"ท่องราตรีร้อยปีศาจ"

ประเภทผีญี่ปุ่น


ความนิยมเรื่องเล่าสยองขวัญ

เมื่อเข้าสู่สมัยเอโดะ(ปี1603-1868) ทั้งที่ภูตผีและวิญญาณน่ากลัว แต่เพราะปรากฏการณ์และรูปร่างที่แปลกประหลาด เลยนำมาทำให้รู้สึกคุ้นชินในฐานะความบันเทิง จึงเกิดความนิยมเรื่องเล่าสยองขวัญขึ้น คำว่าเรื่องเล่าสยองขวัญก็คือเรื่องของภูตผีและวิญญาณนั่นเอง โดยเฉพาะที่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนคือ"ตำนานร้อยเรื่อง" ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า หากเล่าเรื่องสยองขวัญหนึ่งร้อยเรื่องในค่ำคืน ในตอนที่เรื่องเล่าสุดท้ายจบลงภูตผีวิญญาณจะปรากฎตัวขึ้น หนังสือ"โชโคคุเฮียคุโมโนกาตาริ"ถูกตีพิมพ์ในปี1677 เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องเล่าของภูตผีต่างๆนานาที่เคยมีทั่วประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ก็มีตำนานร้อยเรื่องมากมายถูกตีพิมพ์ คัทสึชิกะ โฮคุไซจิตรกรภาพอุคิโยะเอะ ก็มี"ตำนานร้อยเรื่อง"ที่วาดภูตผีร้อยตนในภาพอุคิโยะเอะ

ตำนานร้อยเรื่อง

ทั้งวิญญาณและภูตผีก็ได้มีการจัดการในฐานะ "ความเชื่อมงมงาย" ไปพร้อมกับที่วิทยาศาสตร์พัฒนามากขึ้น แต่แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ทั้งการ์ตูน, อนิเม และภาพยนตร์ก็ได้ความนิยมในด้านความบันเทิงเป็นอย่างมาก ผู้ที่สร้างพื้นฐานของการ์ตูนภูตผีของญี่ปุ่นคือนักเขียนที่มีชื่อว่า"มิซึกิ ชิเงรุ" (ปี1922-) ฮากาบะ โนะ คิทาโร่ที่ปรากฎในปี1960 ก็กลายมาเป็นอนิเม เปลี่ยนเป็นซีรีส์ แม้แต่ในตอนนี้ก็เป็นการ์ตูนภูตผีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในญี่ปุ่นอีกด้วย

สำหรับวิญญาณ ถ้าเป็นในเร็วๆนี้ "Toilet no Hanakosan" ก็ได้ถูกมาทำเป็นภาพยนตร์และอนิเม

"ผี"สำหรับคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นวิญญาณ หรือภูตผี มันก็คือการเตือนสติเหล่ามนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ วิญญาณจะชี้แนะว่าทุกคนจะต้องไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อที่เมื่อตายแล้วจะได้ไปสวรรค์ ยกตัวอย่างเช่น แม้แต่แม่ที่ตายไปโดยทิ้งลูกน้อยเอาไว้ หากผู้คนรอบข้างดูแลเด็กให้ดีก็จะไม่กลายเป็นวิญญาณนั่นเอง

คิทาโร่ที่อีกด้านหนึ่ง ภูตผีก็เป็นสิ่งที่เรียกร้องความเคารพยำเกรงต่อธรรมชาติ ถึงแม้วิทยาศาสตร์ของมนุษย์จะพัฒนาไปสักแค่ไหน แต่พลังธรรมชาติที่ไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ก็ยังคงมีตัวตนอยู่ กล่าวได้ว่าไม่ว่าจะเปลี่ยนไปสู๋ยุคสมัยไหนก็ตามแต่ภูติผีก็จะมีตัวตนอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง By Noboru

日本語版

วัฒนธรรมญี่ปุ่น

หม้อความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น nipponnotsubo にっぽんの壷

右上大型広告
Custom Search
Copyright © 2011 Nipponnotsubo.Inc.
All Right Reserved.
nipponnotsubo@gmail.com
nipponnotsubo@hotmail.com