Logo nipponnotsubo
ad head
header
หน้าแรก ความบันเทิง วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สังคม เทคโนโลยี แฟชั่น ธุรกิจ

วิธีจำคันจิ2--คันจิคือแผนภาพ ก่อนอื่นมาจำความหมายกันเถอะ

日本語版


kanji เดิมทีคันจิเป็นอักษรภาพ เป็นแผนภาพที่แสดงถึงความหมาย เหมือนภาพและแผนภาพ โดยเฉพาะคันจิง่ายๆที่มีจำนวนเส้นน้อย ยกตัวอย่างเช่น 「山」(ภูเขา) ตรงกลางจะทำเป็นรูปร่างของภูเขาสูง 「川」(แม่น้ำ)ก็มีลักษณะเหมือนน้ำในแม่น้ำที่กำลังไหล 「日」(พระอาทิตย์)เป็นรูปร่างของพระอาทิตย์ที่ตรงกลางมีจุดแต้ม 「月」(พระจันทร์)แสดงถึงพระจันทร์เสี้ยว เพื่อให้เห็นแตกต่างจากพระอาทิตย์ 「目」(ตา)คล้ายก็กับ日และ月แต่แตกต่างกัน ซึ่งนี่คือรูปร่างของตานั่นเอง 「田」(นา)เป็นรูปร่างของนาดำ「鳥」(นก)หากดูดีๆก็จะมีรูปร่างเหมือนกับนก 「人」(คน)เป็นรูปร่างของคนสองคนที่พิงกันอยู่ ซึ่งมีความหมายว่าคนมีชีวิตอยู่เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

อักษรความหมาย--การผสมคันจิที่แสดงความหมาย

คันจิพัฒนามาจากอักษรภาพคือ"อักษรความหมาย"(会意文字) และ "อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย"(形声文字) "อักษรความหมาย"คือการผสมคันจิที่มีความหมายเหมือนกันของอักษรภาพ

kanjiตัวอย่างเช่น「木」(ต้นไม้) เพราะมีลำต้นที่อ้วน และมีกิ่งก้านสาขา จึงแสดงถึงต้นไม้ 「林」ซึ่งนำมารวมกันสองตัวก็คือ ป่าเล็กๆ และ「森」(ป่าไม้)ซึ่งนำมารวมกันสามตัว ก็คือป่าที่มีต้นไม้เป็นจำนวนมาก

「明」ซึ่งนำ「日」กับ「月」มารวมกันจึงมีความหมายว่าสว่าง

「火」(ไฟ) แสดงถึงสภาพของไฟที่กำลังเผาไหม้อยู่ และ「炎」ที่นำมาซ้อนกันสองอัน จึงมีความหมายว่าเปลวไฟ

「休」ที่มี「人」อยู่ข้างๆ「木」 ก็เป็นลักษณะที่ว่ากำลังพักอยู่

「言」เป็นรูปร่างของปากผู้หญิงสองคน มีความหมายว่าคำพูด(言葉) และคันจิ「信」ที่นำคำว่า「人」มาผสมด้วย จึงมีความหมายว่าเชื่อ ซึ่งคำพูดของคน(人の言葉)ถือเป็นข้อสรุปมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า เชื่อได้ หรือเชื่อไม่ได้

อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย--การผสมคันจิที่แสดงเสียงกับคันจิที่แสดงความหมาย

kanjiคันจิอีกชนิดหนึ่งซึ่งพัฒนามาจากอักษรภาพก็คือ "อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย"(形声文字)ซึ่งกินเนื้อที่ถึง90%ของคันจิที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น แม้จะเป็นคันจิที่ไม่รูจัก แต่คนญี่ปุ่นก็สามารถออกเสียง และเดาความหมายได้ เพราะนั่นเป็นความสามารถในการอ่าน"อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย"ที่ติดตัวมา จากการเรียนคันจิเยอะๆ ยกตัวอย่างเช่น หากจำคันจิที่ใช้เป็นประจำ1,945ตัวได้ บางทีก็จะสามารถคาดเดาความหมายกับวิธีอ่านของตัวอักษรได้ปะมาณ2เท่า

อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมายคือการผสมของ"องฟุ"ซึ่งเป็นคันจิที่แสดงการออกเสียง กับ"อิฟุ"ซึ่งเป็นคันจิที่แสดงความหมาย ยกตัวอย่างเช่น「花」 ส่วนบนคือ"อิฟุ"ที่หมายถึงหญ้า ส่วน「化」ที่อยู่ด้านล่าง คือ"องฟุ" ซึ่งอ่านว่า"คะ" 「花」จะอ่านว่า"คะ"ในการอ่านแบบจีน แสดงถึงดอกไม้

「聞」อิฟุคือ「耳」มีความหมายว่าหู 「門」เป็นองฟุ อ่านว่า "บุง" ตัวนี้มีความหมายว่าฟัง

「時」อิฟุคือ「日」 มีความหมายว่าวัน มี「寺」เป็นอิฟุ อ่านว่า"จิ" ตัวนี้มีความหมายว่าเวลา

คำประสม--การผสมคันจิกับคันจิ

คันจิมีจำนวนมากมาย แต่คุณเข้าใจการผสมคันจิง่ายๆเข้าด้วยกันซึ่งเรียกว่าอักษรความหมายกับอักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมายไหม? ในการอ่านคันจิแบบคุงโยมิแบบญี่ปุ่น จะต้องใช้ทีละหนึ่งตัว ยกตัวอย่างเช่น คันจิที่มีความหมายว่าเชื่อ「信」 สำหรับคุงโยมิจะอ่านว่า「信じる」(ชินจิรุ) โดยการเติม「じる」ของฮิรางานะเข้าไป จะเรียกตัว"คะนะ"ที่ตามหลังคันจินี้ว่า "โอคุริงานะ" เป็นการเปลี่ยนคันจิของภาษาจีน ให้เป็นคันจิของภาษาญี่ปุ่นด้วยการเติมโอคุริงานะ เป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นในสมัยก่อนผลิตขึ้น

ถ้าเฉพาะแค่การอ่านแบบคุงโยมิแบบญี่ปุ่น จะจำคันจิทีละคัวก็ได้ แต่ในญี่ปุ่นก็ยังมีการอ่านแบบองโยมิแบบจีนหลงเหลืออยู่ ตอนที่จะอ่านออกเสียงแบบองโยมินี้ ในกรณีส่วนใหญ่ก็จะผสมคันจิตั้งแต่สองตัวขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งนี่คือ"คำประสม" คำประสมจะถูกแบ่งเป็น2ประเภทหลัก ประเภทแรกคือ คันจิอีกตัว มาดัดแปลงกับคันจิอีกตัวหนึ่ง และอีกประเภทคือ คันจิที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคันจิที่มีความหมายต่างกันมาเรียงต่อกัน

คันจิอีกตัว มาดัดแปลงกับคันจิอีกตัวหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น 「読書」 มีความหมายว่า「書」を「読む」(การอ่าน)「青空」คือ「青い空」(ท้องฟ้าสีคราม) 「深海」คือ「深い海」(ทะเลลึก)

"คันจิ"ซึ่งเป็นธีมของเอสเสนี้ คือ "ตัวอักษรจีน" "คำประสม" คำว่า「勉強」(การเรียน) มีความหมายว่า "ให้มานะบากบั่นในเชิงบังคับ" เด็กๆไม่ค่อยชอบการเรียน มักจะละเลยและเอาแต่เล่นอย่างเดียว ดังนั้น การให้เด็กเรียนก็ต้องให้มานะบากบั่นในเชิงบังคับ

คันจิที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคันจิที่มีความหมายต่างกัน เมื่อนำมาเรียงกันก็จะได้ตามนี้ 「身」กับ「体」ของ「身体」มีความหมายเหมือนกัน บ่งบอกถึงร่างกาย 「製造」ทั้ง「製」และ「造」ก็มีความหมายว่าสร้าง 「単独」ทั้งสองคำก็แปลว่าเดี่ยว 「広大」มีความหมายว่ากว้างใหญ่

ความหมายต่างกันที่นำมารวมกัน อย่างเช่น 「左右」 ซึ่งนี่ก็คือซ้าย(左)และขวา(右) 「前後」ก็หมายถึงหน้า(前)และหลัง(後) 「往来」มีความหมายว่าไปๆมาๆ

คำประสมส่วนใหญ่จะมาจากคันจิ2ตัว แต่คำประสมที่มาจากคันจิ3,4ตัวก็มีเช่นกัน โดยเฉาะคำประสมที่มาจากคันจิ4ตัว จะเรียกว่า สำนวนที่เป็นอักษร4ตัว(4文字熟語)「森羅万象」คือปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโลก 「栄枯盛衰」มีความหมายว่า สิ่งรุ่งโรจน์ยังไงก็ต้องล่มสลาย 「異口同音」หมายถึง คนหลากหลายพูดความเห็นที่หลากหลาย และที่ญี่ปุ่นหากรู้จัก4文字熟語เยอะ ก็ถูกคิดว่าเป็นคนที่มีความรอบรู้ แต่ว่าหากใช้มากเกินไป ก็จะถูกหาเป็นคนขี้อวดความรู้ดังนั้นจึงต้องระวังด้วย

ในเอสเสครั้งนี้ ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการจำคันจิไปแล้ว สิ่งที่จะเป็นกุญแจก็คือการรู้ความหมายที่อยู่ในคันจิ นอกจากนี้ คันจิที่นำมาผสมนั้น ส่วนที่แสดงถึงเสียงก็มีมาก หากเป็นคันจิ ถึงแม้จะเป็นคันจิที่เพิ่งเห็นเป็นครั้งแรกก็จะสามารถคาดเดาวิธีการออกเสียงและความหมายได้ ดังนั้น ตอนที่จะจำคันจิ ก็จะต้องมองรูปร่างนั้น และคิดว่าตรงไหนที่แสดงความหมาย ตรงไหนที่แสดงเสียง นอกจากนี้ หากเข้าใจความหมายของคันจิแล้ว ก็จะเข้าใจความหมายของสำนวนที่นำมาผสมกันได้ง่ายขึ้น การเรียนคันจิ ก็มีเรื่องที่ต้องไขปริศนา อันแสนสนุกเช่นนี้นั่นเอง

วิธีจำคันจิ(kanji) พื้นฐานคันจิที่ใช้เป็นประจำในภาษาญี่ปุ่นคือ คันจิ1945ตัวที่ใช้เป็นประจำ

財団法人日本漢字能力検定協会

วัฒนธรรมญี่ปุ่น

หม้อความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น nipponnotsubo にっぽんの壷

右上大型広告
Custom Search
Copyright © 2011 Nipponnotsubo.Inc.
All Right Reserved.
nipponnotsubo@gmail.com
nipponnotsubo@hotmail.com